2. ประเพณีบุญบั้งไฟช่วงเวลา เดือนพฤษภาคม
ความสำคัญ ชาวจังหวัดยโสธรร้อยละ 85 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวยโสธรจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นการทำบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการทำนา เป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
พิธีกรรม บุญบั้งไฟ หรือชาวบ้านชอบเรียกงาน บุญบั้งไฟ ว่าบุญเดือนหก จะเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาเทพยาดาอารักษ์หลักบ้านหลักเมือง เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข ให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล จะได้ทำให้พืชผลทางการเกษตร การทำไร ทำนาไดผลอุดมสมบูรณ์ และเพื่อบูชาพญาแถนผู้ให้ฝนตกอีกด้วย ซึ่งชาวบ้านคนไทยและ คนลาวมีความเชื่อว่าพญาแถนคือเทพเจ้าแห่งฝน การจุดบั้งไฟจึงเป็นการบูชาเทพเจ้าแห่งฝน บันดานให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตามความเชื่อมีเรื่องเล่าว่า มีเทพนามว่า วัสสกาลเทพบุตร ประทับอยู่ ณ บนสวรรค์ซึ่งจะคอย ดูแลเรื่องน้ำฟ้า น้ำฝน ใครทำถูก ทำชอบ พระองค์ก็จะประทานน้ำฝนให้ ใครทำเรื่องที่ไม่ดี พระองค์ก็จะไม่ประทานน้ำฝนให้ และพระองค์ก็มีความ ชื่นชอบการบูชาด้วยไฟ จังเป็นเหตุให้คนไทยในภาคอีสาน มีการบูชาไฟด้วยการจุดบั้งไฟ จึงเป็นประเพณีที่ดีงามสืบทอด กันมารุ่นแล้ว รุ่นเล่าจนถึงทุกวันนี้บั้งไฟ เป็นการนำเอากัมมะถัน ประกอบด้วย ดินประสิวคั่วผสมกับถ่านตำให้ละเอียด แล้วจึงนำไปอัดแน่นในกระบอก
ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร
งาน บุญบั้งไฟ ชาวบ้านจะทำการนัดหมายกัน โดยการทำบุญเลี้ยงพระเพล และประมาณ 3 โมงเย็นหรือ 15.00 น. โดยประมาณทางวัดก็จะตีกลองเป็นสัญญาณบอกให้ทุกคนได้รู้ว่างาน บุญบั้งไฟ ได้เริ่มแล้วให้นำบั้งไฟมารวมกันที่วัด แล้วเริ่มตั้งขบวนแห่โดยเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่ง เป็นจุดเริ่มต้นขบวนแห่ แล้วชาวบ้านก็จะช่วยกันนำรถบรรทุกใส่บั้งไฟ แห่เป็นขบวนไปรอบเมือง ในขบวนแห่ก็จะมีการแต่งตัว การแสดงในท่าทางต่าง ๆ เป็นการสร้างสีสรรให้กับงานแล้วนำบั้งไฟกลับไปที่วัดที่จัดการแข่งขันบั้งไฟ ซึ่งบั้งไฟก็มีการแบ่งตามขนาดที่กำหนดโดยทั่วไปนิยมทำกันอยู่ 3 ขนาดคือ บั้งไฟธรรมดา บรรจุดินปืนไม่เกิน 12 กิโลกรัม บั้งไปหมื่นบรรจุดินปืนเกิน 12 กิโลกรัม และบั้งไฟแสน บรรจุดินดินปืนถึงขนาด 120 กิโลกรัม ในความเชื่อถ้าบั้งไฟขึ้นสูงนั่นก็หมายความว่าฝนฟ้า ข้าวปลา อาหารก็จะอุดมสมบูรณ์ดี แต่ถ้าบั้งไฟแตกหรือไม่ขั้นก็หมายความ ว่าฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูเป็นต้น
สาระ 1. เป็นการตักเตือนให้รู้ว่าธรรมชาติเป็นสิ่งไม่แน่นอน เกษตรกรไม่ควรประมาท 2. เป็นงานประเพณีที่สร้างความสนุกสนาน และความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน 3. กิจกรรมการเซิ้ง สอนให้คนในสังคมรู้จักการบริจาคทาน และการเสียสละ 4. เป็นงานประเพณีที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวจังหวัดยโสธร
ความสำคัญ ชาวจังหวัดยโสธรร้อยละ 85 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวยโสธรจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นการทำบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการทำนา เป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
พิธีกรรม บุญบั้งไฟ หรือชาวบ้านชอบเรียกงาน บุญบั้งไฟ ว่าบุญเดือนหก จะเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาเทพยาดาอารักษ์หลักบ้านหลักเมือง เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข ให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล จะได้ทำให้พืชผลทางการเกษตร การทำไร ทำนาไดผลอุดมสมบูรณ์ และเพื่อบูชาพญาแถนผู้ให้ฝนตกอีกด้วย ซึ่งชาวบ้านคนไทยและ คนลาวมีความเชื่อว่าพญาแถนคือเทพเจ้าแห่งฝน การจุดบั้งไฟจึงเป็นการบูชาเทพเจ้าแห่งฝน บันดานให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตามความเชื่อมีเรื่องเล่าว่า มีเทพนามว่า วัสสกาลเทพบุตร ประทับอยู่ ณ บนสวรรค์ซึ่งจะคอย ดูแลเรื่องน้ำฟ้า น้ำฝน ใครทำถูก ทำชอบ พระองค์ก็จะประทานน้ำฝนให้ ใครทำเรื่องที่ไม่ดี พระองค์ก็จะไม่ประทานน้ำฝนให้ และพระองค์ก็มีความ ชื่นชอบการบูชาด้วยไฟ จังเป็นเหตุให้คนไทยในภาคอีสาน มีการบูชาไฟด้วยการจุดบั้งไฟ จึงเป็นประเพณีที่ดีงามสืบทอด กันมารุ่นแล้ว รุ่นเล่าจนถึงทุกวันนี้บั้งไฟ เป็นการนำเอากัมมะถัน ประกอบด้วย ดินประสิวคั่วผสมกับถ่านตำให้ละเอียด แล้วจึงนำไปอัดแน่นในกระบอก
ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร
งาน บุญบั้งไฟ ชาวบ้านจะทำการนัดหมายกัน โดยการทำบุญเลี้ยงพระเพล และประมาณ 3 โมงเย็นหรือ 15.00 น. โดยประมาณทางวัดก็จะตีกลองเป็นสัญญาณบอกให้ทุกคนได้รู้ว่างาน บุญบั้งไฟ ได้เริ่มแล้วให้นำบั้งไฟมารวมกันที่วัด แล้วเริ่มตั้งขบวนแห่โดยเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่ง เป็นจุดเริ่มต้นขบวนแห่ แล้วชาวบ้านก็จะช่วยกันนำรถบรรทุกใส่บั้งไฟ แห่เป็นขบวนไปรอบเมือง ในขบวนแห่ก็จะมีการแต่งตัว การแสดงในท่าทางต่าง ๆ เป็นการสร้างสีสรรให้กับงานแล้วนำบั้งไฟกลับไปที่วัดที่จัดการแข่งขันบั้งไฟ ซึ่งบั้งไฟก็มีการแบ่งตามขนาดที่กำหนดโดยทั่วไปนิยมทำกันอยู่ 3 ขนาดคือ บั้งไฟธรรมดา บรรจุดินปืนไม่เกิน 12 กิโลกรัม บั้งไปหมื่นบรรจุดินปืนเกิน 12 กิโลกรัม และบั้งไฟแสน บรรจุดินดินปืนถึงขนาด 120 กิโลกรัม ในความเชื่อถ้าบั้งไฟขึ้นสูงนั่นก็หมายความว่าฝนฟ้า ข้าวปลา อาหารก็จะอุดมสมบูรณ์ดี แต่ถ้าบั้งไฟแตกหรือไม่ขั้นก็หมายความ ว่าฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูเป็นต้น
สาระ 1. เป็นการตักเตือนให้รู้ว่าธรรมชาติเป็นสิ่งไม่แน่นอน เกษตรกรไม่ควรประมาท 2. เป็นงานประเพณีที่สร้างความสนุกสนาน และความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน 3. กิจกรรมการเซิ้ง สอนให้คนในสังคมรู้จักการบริจาคทาน และการเสียสละ 4. เป็นงานประเพณีที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวจังหวัดยโสธร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น