คาร์ล เซอร์นี เป็นคีตกวีชาวออสเตรีย เกิดที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791) และเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857)
บิดาของเซอร์นีเป็นนักเปียโนผู้เก่งกาจ ผู้ซึ่งการเล่นเครื่องดนตรีชิ้นนี้ให้แก่เขา ด้วยการเรียนที่มีบิดาเป็นครู คาร์ลสามารถเล่นบทเพลงหลายบทได้อย่างขึ้นใจ และเล่นได้มีคุณภาพขนาดปรมาจารย์ทางดนตรีคนหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1800) ถึง พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1803) เขาได้เป็นศิษย์ของเบโทเฟิน ซึ่งบทเรียนจากเบโทเฟิน นั้นจะเป็นประโยชน์แก่เขาในภายหลัง ความสามารถในการสอนของเขาพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสามารถสอนบทเรียนที่สำคัญ ๆได้เมื่อเขาอายุได้เพียง 15 ปี ทำให้เขากลายเป็นครูสอนเปียโนที่เป็นที่ต้องการตัวมากคนหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ดี เขาออกแสดงคอนเสิร์ตน้อยครั้งมาก เขาพอใจที่จะประพันธ์เพลง และสอนลูกศิษย์มากกว่า ซึ่งในบรรดาลูกศิษย์ของเซอร์นีนั้น มีฟรานซ์ ลิทซ์ผู้โด่งดังรวมอยู่ด้วย
แม้ว่าบทเพลงของเซอร์นีบางบทจะไพเราะเสนาะหู คาร์ล เซอร์นีกลับเป็นที่รู้จักในฐานะผู้แต่งบทเรียนทางเทคนิคจำนวนนับไม่ถ้วน (มากกว่า 600 โอปุส) ซึ่งไม่ได้โด่งดังด้วยความไพเราะ ดูเหมือนว่าเซอร์นีจะหมกมุ่นอยู่กับการแกะเทคนิคยาก ๆ จากบทเพลงของเบโทเฟินออกมา เพื่อจะสามารถถ่ายทอดมันได้ดียิ่งขึ้นเสียมากกว่า
บิดาของเซอร์นีเป็นนักเปียโนผู้เก่งกาจ ผู้ซึ่งการเล่นเครื่องดนตรีชิ้นนี้ให้แก่เขา ด้วยการเรียนที่มีบิดาเป็นครู คาร์ลสามารถเล่นบทเพลงหลายบทได้อย่างขึ้นใจ และเล่นได้มีคุณภาพขนาดปรมาจารย์ทางดนตรีคนหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1800) ถึง พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1803) เขาได้เป็นศิษย์ของเบโทเฟิน ซึ่งบทเรียนจากเบโทเฟิน นั้นจะเป็นประโยชน์แก่เขาในภายหลัง ความสามารถในการสอนของเขาพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสามารถสอนบทเรียนที่สำคัญ ๆได้เมื่อเขาอายุได้เพียง 15 ปี ทำให้เขากลายเป็นครูสอนเปียโนที่เป็นที่ต้องการตัวมากคนหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ดี เขาออกแสดงคอนเสิร์ตน้อยครั้งมาก เขาพอใจที่จะประพันธ์เพลง และสอนลูกศิษย์มากกว่า ซึ่งในบรรดาลูกศิษย์ของเซอร์นีนั้น มีฟรานซ์ ลิทซ์ผู้โด่งดังรวมอยู่ด้วย
แม้ว่าบทเพลงของเซอร์นีบางบทจะไพเราะเสนาะหู คาร์ล เซอร์นีกลับเป็นที่รู้จักในฐานะผู้แต่งบทเรียนทางเทคนิคจำนวนนับไม่ถ้วน (มากกว่า 600 โอปุส) ซึ่งไม่ได้โด่งดังด้วยความไพเราะ ดูเหมือนว่าเซอร์นีจะหมกมุ่นอยู่กับการแกะเทคนิคยาก ๆ จากบทเพลงของเบโทเฟินออกมา เพื่อจะสามารถถ่ายทอดมันได้ดียิ่งขึ้นเสียมากกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น