วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

ชาวพุทธตัวอย่าง


๔. ๗ ชาวพุทธตัวอย่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และเป็นองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู เถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2411 สวรรคต เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ขณะมีพระชนมายุได้ 57 พรรษา รวมเวลาครองราชย์ 42 ปีพระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัติย์ที่ทรงตั้งอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพรักของปวงชนชาวไทย เป็นที่พึ่งตลอดระยะเวลายาวนานถึง 42 ปี ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาเป็นเอนกนานัปการ เช่น โปรดให้ยกเลิกประเพณีหมอบคลานและกราบ โดยให้ใช้ยืนและคำนับแทน โปรดให้เลิกทาส ตั้งโรงเรียนหลวงสอนทั้งภาษาไทยและอังกฤษ โปรดให้มีการสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาในต่างประเทศ ทรงปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม และแบ่งหน้าที่ราชการให้เป็นสัดส่วน ไม่ก้าวก่ายกัน ในส่วนภูมิภาคนั้น โปรดให้รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็นมณฑล ส่วนในจังหวัดหนึ่งๆ ก็ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดดูแลรับผิดชอบ อาณาเขตจังหวัดก็แบ่งเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน โปรดให้จัดการในเรื่องการสุขาภิบาล การบำรุงท้องที่ การไปรษณีย์ การโทรเลข การไฟฟ้า การรถไฟ โปรดให้ตั้งกระทรวงสำคัญๆ ต่างๆ และกิจการในด้านศาลยุติธรรม โปรดให้จัดการตำรวจภูธร ใช้กฎหมายการเกณฑ์ทหารเมื่อชาติต้องการหรือมีเหตุการณ์แกเฉินและเกิดสงคราม และการสะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ เป็นต้น การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ให้ทันต่อสภาวะความเจริญของบ้านเมืองได้ก้าวไปไกลอย่างมาก ทรงได้มีการปรับปรุงพระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา ดังนี้1. การชำระและการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทย-การชำระและการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทยนี้ นานถึง 6 ปี เริ่มแต่ปี พ.ศ. 2431 ถึง พ.ศ. 2436 โดยทรงปรารภเหตุหลายประการ กล่าวคือ(1) เป็นการดำเนินการตามขัตติยะประเพณีที่ปฏิบัติกันต่อๆ มาของพระมหากษัตริย์ในปางก่อนที่ทรงสร้างในการสังคายนาพระธรรมวินัย(2) ด้วยทรงปรารภพึงพระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา เมื่อจัดพิมพ์แล้ว จะช่วยส่งเสริมให้ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแพร่หลาย เป็นกุศลอันยิ่งใหญ่(3) การพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยอักษรไทย จะช่วยให้สะดวกแก่การค้นคว้าและการพิมพ์เป็นเล่มสมุดก็สะดวกต่อการเก็บและรักษา แม้ไม่ทนเหมือนจารึกลงบนใบลาน แต่ก็สามารถจัดพิมพ์ใหม่อีกได้ง่ายการชำระและการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งนี้ เสร็จทันงานฉลองรัชดาภิเษก (การครองราชย์ครอบ 25 ปี) ของพระองค์ ทรงพระราชทานแด่พระอารามหลวงและวัดราษฎร์ ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองโดยทั่วกัน นับเป็นการพิมพ์คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ฉบับภาษาไทย ครั้งแรกในประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น