วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

การรำภาคกลาง


การแสดงพื้นเมืองประจำภาคกลางภาคกลางได้ชื่อว่าอู่ข้าวอู่น้ำของไทย มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสาย เหมาะแก่การกสิกรรม ทำนา ทำสวน ผู้คนมีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย จึงมีเวลาที่จะคิดประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์สิ่งที่สวยงามได้มาก และมีการเล่นรื่นเริงในโอกาสต่างๆ มากมาย ทั้งตามฤดูกาล ตามเทศกาลและตามโอกาสที่มีงานรื่นเริงภาคกลางเป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงมีการถ่ายทอดสืบต่อกันและพัฒนาดัดแปลงขึ้นเรื่อยๆและออกมาในรูปแบบของขนบธรรมเนียมประเพณี และการประกอบอาชีพ เช่น เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ลิเก ลำตัด กลองยาว เถิดเทิง เป็นต้น บางอย่างกลายเป็นการแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี เช่น รำวง และเนื่องจากเป็นที่รวมของศิลปะนี้เอง ทำให้คนภาคกลางรับการแสดงของท้องถิ่นใกล้เคียงเข้าไว้หมด แล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลาง คือการร่ายรำที่ใช้มือ แขนและลำตัว เช่น โขน ละครชาตรี ละครนอก ละครใน ลิเก หุ่น หนังใหญ่ เป็นต้น.
เต้นกำรำเคียว
เป็นการแสดงพื้นเมืองที่เก่าเเก่ของชาวชนบทในภาคกลาง แถบจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งชาวชนบทส่วนมากมีอาชีพการทำนาเป็นหลัก เเละด้วยนิสัยรักสนุกกับการเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน จึงได้เกิดการเต้นกำรำเคียวขึ้น ในเนื้อเพลงจะสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ลักษณะการรำ จะเน้นความสนุก เป็นใหญ่ มีทั้งเต้นและรำควบคู่กันไป ในมือของผู้รำข้างหนึ่งจะถือเคียว อีกข้างหนึ่งถือข้าวที่เกี่ยวเเล้ววิธีเล่น จะมีผู้เล่นประมาณ 5 คู่ แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายชายเรียกว่า พ่อเพลง ฝ่ายหญิงเรียกว่าแม่เพลง เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนเเม่เพลงให้ออกมา เต้นกำรำเคียว โดยร้องเพลงเเละเต้นออกไปรำล่อฝ่ายหญิงและแม่เพลงก็ร้องเเละ รำแก้กันไป ซึ่งพ่อเพลงแม่เพลงนี้อาจเปลี่ยนไปหลาย ๆ คน ช่วยกันร้องจนจบเพลง ผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่เพลงก็จะเป็นลูกคู่ ปรบมือและร้องเฮ้ เฮ้วให้จังหวะเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ ศิลปินของกรมศิลปากรได้ไปฝึกหัดการเล่นเต้นกำรำเคียวจากชาวบ้านตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมากรมศิลปากรได้ปรับปรุงการเล่นเพื่อให้เหมาะกับการนำออกแสดงในงานบันเทิง โดยให้ นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญนาฏดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร และศิลปินแห่งชาติแต่งทำนองเพลงประกอบการแสดงตอนเริ่มต้นก่อนร้องบทโต้ตอบและตอนจบบทร้องผู้แสดงทั้งชายและหญิงมือขวาถือเคียว มือซ้ายถือกำรวงข้าว ทำท่าตามกระบวนเพลงร้องเย้าหยอกเกี้ยวพาราสีกัน บทร้องมีอยู่ ๑๑ บท คือ บทมา ไป เดิน รำ ร่อน บิน ยัก ย่อง ย่าง แถ ถอง และเพลงในกระบวนนี้ผู้เล่นอาจด้นกลอนพลิกแพลงบทร้องสลับรับกันด้วยความสนุกสนาน บางครั้ง ในการแสดงอาจตัดบทร้องบางบทเพื่อความกระชับ ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงเพลงนำและตอนจบผู้แสดงแต่งกายพื้นบ้านภาคกลาง ชาวนาชาย นุ่งกางเกงขายาว เสื้อคอกลมผ่าอกแขนสั้นเหนือศอก สีน้ำเงินคราม ผ้าขาวม้าคาดเอว สวมหมวกปีก ชาวนาหญิง นุ่งผ้าพื้นดำ โจงกระเบน เสื้อคอกลมผ่าอกแขนยาวสีน้ำเงินหรือต่างสี สวมงอบ การแสดงชุดนี้สามารถแสดงได้โดยไม่จำกัดเวลาตัวอย่างเพลงที่ใช้ร้อง เช่น
เพลงมาชายมากันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่มามารึมา แม่มา (ซ้ำ) มาเถิดเเม่นุชน้อง พี่จะเป็นฆ้องให้น้องเป็นปี่ ต้อยตะริดติ๊ดตอด น้ำเเห้งน้ำหยอดที่ตรงลิ้นปี่ มาเถิดนะ แม่มา มารึมาแม่มา มาเต้นกำย่ำหญ้ากันในนานี้เอยหญิง
มากันเถิดนายเอย เอ๋ยรา พ่อมามารึมา พ่อมา ฝนกระจายปลายนา แล้วน้องจะมาอย่างไรเอย
เพลงรำชายรำกันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่รำรำรึรำ แม่รำ ใส่เสื้อดี แม่ห่มแต่สีดอกขำ น้อยหรือแน่แม่ช่างรำ แม่เชื้อระบำเก่าเอยหญิง
รำกันเถิดนายเอย เอ๋ยรา พ่อรำรำรึรำ พ่อรำ มหาหงส์ลงต่ำ ต่างคนต่างรำไปเอย
รำกลองยาว
รำกลองยาวหรือบางครั้งเรียกว่ารำเถิดเทิง สาเหตุที่มีชื่อเรียกว่ารำเถิดเทิงก็เนื่องมาจากเสียงกลองยาวที่เวลาตีมีเสียงคล้าย ๆ คำว่าเถิดเทิงนั่นเอง การแสดงชุดนี้ใช้แสดงเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ หรือในงานบวช เครื่องแต่งกายแสดงถึงวัฒนธรรมการแต่งกายของภาคกลางรำกลองยาว สันนิษฐานว่าเป็นของพม่านิยมเล่นกันมาก่อน เมื่อครั้งพม่าทำสงครามกับไทยในสมัยกรุงธนบุรีในเวลาพักรบ พวกทหารพม่าก็เล่นสนุกสนานกันด้วยการเล่นต่าง ๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น "กลองยาว" พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง ยังมีเพลงดนตรีเพลงหนึ่งซึ่งดนตรีไทยนำมาใช้บรรเลง มีทำนองพม่า เรียกกันแต่เดิมว่า "เพลงพม่ากลองยาว" ต่อมาได้มีผู้ปรับเป็นเพลงระบำ กำหนดให้ผู้รำแต่งตัวใส่เสื้อนุ่งโสร่งตา ศีรษะโพกผ้าสีชมพู มือถือขวานออกมาร่ายรำเข้ากับจังหวะเพลงที่กล่าวนี้ จึงเรียกเพลงนี้กันอีกชื่อหนึ่งว่า "เพลงพม่ารำขวาน" ต่อมาการแสดงเถิดเทิงได้มีการพัฒนารูปแบบให้มีความสวยงามมากขึ้น โดยมีการแต่งกายที่เป็นแบบอย่างไทย กำหนดท่ารำใหัมีความเป็นมาตรฐานยิ่งขึ้น และมีกลองยาวเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง
รําสีนวล
เป็นชื่อของเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบการแสดงละคร ประกอบกิริยาไปมาของสตรีที่มารยาทกระชดกระช้อย ทำนองเพลงมีท่วงทีซ่อนความพริ้งเพราไว้ในตัว ต่อมามีผู้ประดิษฐ์ทำนองร้องขึ้นประกอบการรำซึ่งทำให้ความหมายของเพลงเด่นชัด ปรากฏเป็นภาพงดงามเมื่อมีผู้ร่ายรำประกอบแต่เดิมการรำเพลงสีนวลมีอยู่แต่ในเรื่องละคร ภายหลังจึงแยกออกมาใช้เป็นระบำเบ็ดเตล็ด เพราะมีความงดงามไพเราะทั้งในชั้นเชิงของทำนองเพลง และท่ารำความหมายของการรำสีนวล เป็นไปในการบันเทิงรื่นรมย์ของหญิงสาวแรกรุ่นที่มีจริตกิริยางดงามตามลักษณะกุลสตรีไทย ด้วยความที่ทำนองเพลง บทขับร้อง และท่ารำที่เรียบง่ายงดงาม จึงเป็นชุดนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่ได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันทั่วไปจำนวนผู้แสดง ใช้แสดงเป็นหมู่ หรือแสดงเดี่ยวก็ได้ ตามโอกาสที่เหมาะสมดนตรีประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์
บทร้องที่ใช้แสดงมีอยู่ ๓ รูปแบบ
แบบที่ ๑... ปี่พาทย์ทำเพลงสีนวล
ร้องสีนวล
สีนวลชวนชื่นเมื่อยามเช้า รักเจ้าสาวสีนวลหวนคิดถึง
แม้ไม่แลเห็นเจ้าเฝ้าคำนึง อยากให้ถึงวันที่รำสีนวล...
ปี่พาทย์ทำเพลงเร็ว - ลา
แบบที่ ๒ ประพันธ์บทร้องโดย นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญทางด้านดุริยางค์ไทย กรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ...
ปี่พาทย์ทำเพลงสีนวล
ร้องสีนวล
อันการรำสีนวลกระบวนนี้ เป็นแบบที่ร้องรับไม่จับเรื่อง
เป็นการรำเริงรื่นของพื้นเมือง เพื่อเป็นเครื่องพักผ่อนหย่อนอารมณ์ได้ปลดทุกข์สุขใจเมื่อไร้กิจ
เข้ารำชิดเคียงคู่ดูเหมาะสมขอเชิญชวนมวลบรรดาท่านมาชม
รื่นอารมณ์ยามที่รำสีนวล...ปี่พาทย์ทำเพลงเร็ว - ลา
แบบที่ ๓... ปี่พาทย์ทำเพลงสีนวลร้องสีนวล
สีนวลชวนชื่นเมื่อยามเช้า รักเจ้าสาวสีนวลหวนคิดถึง
แม้ไม่แลเห็นเจ้าเฝ้าคำนึง อยากให้ถึงวันที่รำสีนวล
ร้องอาหนู
เจ้าสาวสาวสาวสาวสะเทิ้นเจ้าค่อยเดินค่อยเดินเดินตามทาง
ฝูงอนงค์ทรงสำอางนางสาวศรีห่มสี (ซ้ำ)ใ
ส่กำไลแลวิลัย ทองใบอย่างดี ทองก็ดีประดับสีเพชรพลอยพลอยงามดูงามใส่ต่างหูสองหู
หูทัดดอกไม้สตรีใดชนใดในสยามจะหางามงามกว่ามาเคียง ไม่เคียง (ซ้ำ)
ชวนกันเดิน พากันเดิน รีบเดินมา รีบเดินมาร่ายรำทำท่าน่ารักเอย...ปี่พาทย์ทำเพลงเร็ว - ลา
หมายเหตุ บทร้องอาหนู เป็นบทพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (ท่อนสุดท้ายปรับปรุงขึ้นใหม่แตกต่างจากบทพระนิพนธ์) ผู้แสดงนุ่งผ้าโจง ห่มสไบจีบ สยายผมทัดดอกไม้ ใส่เครื่องประดับ (เข็มขัด กำไลมือ กำไลเท้า)ความยาวของชุดการแสดงจะแตกต่างกันคือรำสีนวล ออกเพลงเร็ว-ลา ใช้เวลาแสดงประมาณ ๕ นาทีรำสีนวล ออกเพลงอาหนู เพลงเร็ว-ลา ใช้เวลาแสดงประมาณ ๘ นาที
ระบำวิชนี
เป็นระบำชุดหนึ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยใช้ทำนองเพลงจีนดาวดวงเดียว ซึ่งเป็นเพลงที่มีอยู่ มาประดิษฐ์เป็นท่ารำ โดยผู้แสดงจะแต่งกายแบบนางใน ในมือถือพัดมีด้ามประกอบการรำซึ่งมีศัพท์เรียกว่า วิชนี หรือ พัชนี ออกมาร่ายรําด้วยท่วงทํานองเพลงและบทร้องอันไพเราะ เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ชาวไทยนิยมใช้พัดเป็นเครื่องบรรเทาความร้อน ดังนั้นนาฏศิลปชุด ระบําวิชนี จึงวิวัฒนาการมาจากการใช้พัด รําเพยลมของชาวไทยในทํานองอย่างมีศิลปนั่นเองผู้ประพันธ์เนื้อร้องคือ อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย ของกรมศิลปากร
โดยมีเนื้อร้องดังต่อไปนี้
หน้าร้อน
ทินกรเจิดแจ่มแฉล่มศรี
เกิดแสงแดดแผดมาสู่ร่างนี้
เผามาลีโรยเหงาเหี่ยวเฉาไป
อากาศร้อนอบอ้าวผะผ่าวผิว
ไล่ลมพริ้วมาไวคลายร้อนได้
พระพายหยุดสุดร้อนร้อนฤทัย
ต้องอาศัยโบกพัดกระพือลมวิชนี
ที่ช่วยให้โรยรื่นเย็นฉ่ำชื่นชุ่ม
ในฤทัยสมถึงเวลาหน้าร้อนร้อนระงม
เชิญมาชมรำพัดให้เย็นใจเอย....
เพลงบรรเลงรัว เพลงเชิดจีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น